Tuesday, November 15, 2022

Clause 5 – Leadership (ผู้นำ)

 

ผู้นำมีบทบาทหน้าที่สำคัญมากในระบบบริหารจัดการ เชื่อได้ว่าหากผู้นำไม่สนับสนุน หรือเห็นความสำคัญไม่มีทางที่ระบบการจัดการจะมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ISO/IEC27001:2022 ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้นำองค์กรไว้ 3 ข้อ คือข้อที่ 5.1-5.3

ข้อที่ 5.1 ภาวะผู้นำและความมุ่งมั่น อย่างที่ได้พูดไว้แล้วข้างต้นว่าการทำระบบไม่มีทางสำเร็จถ้าผู้นำไม่เห็นด้วยและสนับสนุน ดังนั้นข้อนี้จึงเน้นที่การแสดงออกของภาวะผู้นำที่จะต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ และความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ เช่น ทำให้มั่นใจว่านโยายและวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ได้ถูกดำเนินการ และสอดคล้องกับทิศทางขององค์กร, ทำให้มั่นใจว่าข้อกำหนดตามมาตรฐานนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ขององค์กร, สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น เป็นต้น


ไปต่อที่ข้อ 5.2 กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงต้องกำหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ โดยนโยบายนั้นควรต้องเหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร มีการกำหนวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตลอดจนความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง ในข้อกำหนดนี้กำหนดให้นโยบายจะต้องจัดทำเป็นเอกสารสารสนเทศ และสื่อสารให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์กร และมีไว้ให้ผู้มีส่วนได้เสียตามความเหมาะสม

ข้อสุดท้าย ข้อที่ 5.3 กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงต้องมอบหมายบทบาทหน้าที่, ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการมอบหมายความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ก็เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการจัดการเป็นไปตามข้อกำหนด และให้มีการรายงานผลการดำเนินการไปยังผู้บริหารระดับสูง

Clause 6 – Planning (การวางแผน)


6.1 การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาส

6.1.1 ทั่วไป

เมื่อทำการวางแผนสำหรับระบบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ องค์กรต้องพิจารณาถึงประเด็นต่าง ๆ ที่อ้างถึงในข้อกำหนด 4.1 และข้อกำหนดต่างๆ ที่อ้างถึงถึงในข้อกำหนด 4.2 และกำหนดความเสี่ยงและโอกาสที่จำเป็นต้องได้รับการจัดการ เพื่อ:

  • a) ให้มั่นใจว่าระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสามารถบรรลุผลตามผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้;
  • b) ป้องกันหรือลดผลกระทบที่ไม่พึงปรารถณา;
  • c) ให้บรรลุเป้าหมายของการปรับปรงอย่างต่อเนื่อง.

องค์กรต้องวางแผน

  • d) ดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาส; และ
  • e) วิธีการ

    1. บูรณาการและนำการดำเนินการไปปฏิบัติให้เข้ากับกระบวนการของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และ
    2. ประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการดังกล่าว

6.1.2 การประเมินความเสียงด้านความมันคงปลอดภัยสารสนเทศ

องค์กรต้องกำหนดและประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ โดย

  • a) จัดตั้งและรักษาเกณฑ์ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ซึ่งรวมถึง

    1. เกณฑ์การยอมรับความเสี่ยง และ
    2. เกณฑ์สำหรับดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

  • b) ทำให้มั่นใจว่าการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวสามารถทำซ้ำและได้ผลลัพธ์ที่ตรงกัน ถูกต้องและสามารถเปรียบเทียบได้
  • C) ระบุความเสียงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

    1. ประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เพื่อระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียความลับ ความถูกต้องสมบูรณ์ และความพร้อมใช้งาน ของสารสนเทศภายในขอบเขตของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และ
    2. ระบุผู้เป็นเจ้าของความเสี่ยง

  • d) วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

    1. ประเมินผลกระทบที่เป็นไปได้ ถ้าความเสียงที่ระบุไว้ในข้อกำหนด 6.1.2 c) เกิดขึ้นจริง
    2. ประเมินโอกาสที่สมเหตุผลของการเกิดความเสี่ยงที่ระบุไว้ในข้อกำหนด 6.1.2 c) และ
    3. กำหนดระดับค่าความเสี่ยง

  • e) ประเมินความเสียงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

    1. เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงกับเกณฑ์ความเสี่ยงที่สร้างขึ้นในข้อกำหนด 6.1.2 a) และ
    2. จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่ได้วิเคราะห์แล้ว เพื่อการจัดการความเสี่ยง

องค์กรต้องเก็บรักษาเอกสารสนเทศ เกี่ยวกับกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ


6.1.3 การจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

องค์กรต้องกำหนดและประยกต์ใช้กระบวนการจัดการความเสียงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เพื่อ

  • a) เลือกตัวเลือกของการจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากผลประเมินความเสี่ยง
  • b) กำหนดมาตรการควบคุมทั้งหมดที่จำเป็น เพื่อนำไปใช้ตามตัวเลือกการจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่ได้เลือกไว้


หมายเหตุ 1 องค์กรสามารถออกแบบมาตรการควบคุมตามที่ต้องการ หรือระบุมาตรการควบคุมจากแหล่งอ้างอิงใด ๆ

  • c) เปรียบเทียบมาตรการควบคุมที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด 6.1.3 b) กับมาตรการควบคุมใน Annex A และทวนสอบว่าไม่มีมาตรการควบคุมที่จำเป็นใด ๆ ได้ละเว้นออกไป

หมายเหตุ 2 Annex A ประกอบด้วย รายการมาตรการควบคุมด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่เป็นไปได้ ผู้ใช้เอกสารฉบับนี้ ได้รับการขี้แนะไปที่ Annex A เพื่อให้มันใจว่าไม่มีมาตรการควบคุมด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่จำเป็นใด ๆ ถูกมองข้ามไป

หมายเหตุ 3 รายการมาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่ระบุไว้ใน Annex A ไม่ใช่มาตรการควบคุมทั้งหมดทั้งสิ้น และสามารถเพิ่มเดิมมาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศอื่นๆ ได้หากจำเป็น

  • d) จัดทำเอกสารแสดงการประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย

    1. ㆍมาตรการควบคุมที่จำเป็น (ดูข้อกำหนด 6.1.3 b) และ c))
    2. ㆍ เหตุผลของการนำมาใช้
    3. ㆍไม่ว่ามาตรการควบคุมที่จำเป็นได้น่าไปปฏิบัติแล้วหรือไม่ก็ตาม และ
    4. ㆍเหตุผลของการละเว้นมาตรการควบคุมใด ๆ ใน Annex A

  • e) จัดทำแผนการจัดการความเสียงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และ
  • f) ขออนุมัติแผนการจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และการยอมรับความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่หลงเหลืออยู่ จากผู้เป็นเจ้าของความเสี่ยง


องค์กรต้องเก็บรักษาเอกสารสนเทศ เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความเสียงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

หมายเหตุ 4 กระบวนการประเมินความเสี่ยงและกระบวนการจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศในเอกสารฉบับนี้ สอดคล้องกลับหลักการและแนวทางโดยทั่วไปที่ระบุไว้ในมาตรฐาน ISO 31000


6.2 วัตถุประสงค์ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และการวางแผนเพื่อการบรรลุผล

องค์กรต้องจัดตั้งวัดถุประสงค์ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศไปยังส่วนงานและระดับที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ต้อง:

  • a) สอดคล้องกับนโยบายความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ;
  • b) สามารถวัดผลได้ (ถ้าปฏิบัติได้);
  • c) พิจารณาถึงข้อกำหนดต่างๆ ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และผลลัพธ์จากการประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง;
  • d) ได้รับการติดตาม;
  • e) ได้รับการสื่อสาร;
  • f) ได้รับการปรับปรุงตามความเหมาะสม;
  • g) จัดทำเป็นเอกสารสารสนเทศ.

องค์กรต้องเก็บรักษาเอกสารสนเทศ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

เมื่อวางแผนวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ องค์กรต้องกำหนด:

  • h) กิจกรรมที่จะทำให้เสร็จ
  • i) ทรัพยากรอะไรที่ต้องการ
  • j) ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
  • k) เมื่อไหร่ที่จะแล้วเสร็จ และ
  • l) ผลลัพธ์ที่ได้จะประเมินอย่างไร

6.3 การวางแผนของการเปลี่ยนแปลง

เมื่อองค์กรกำหนดความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงต้องดำเนินการตามแผนที่วางไว้


>>> ISO/IEC 27001:2022 มาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการปกป้องความเป็นส่วนตัว


 --- 


International Organization for Standardization. (2022). Information security, cybersecurity, and privacy protection – Information security management systems – Requirements (ISO/IEC 27001:2022). https://www.iso.org/standard/82875.html

Monday, November 14, 2022

ISO/IEC 27001:2022 มาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการปกป้องความเป็นส่วนตัว

ISO/IEC 27001:2013 เป็นมาตรฐานสากล ด้านระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการปกป้องความเป็นส่วนตัว ขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization - ISO) ประกาศใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี ค2005 ปัจจุบันเป็นฉบับปี 2022 มีข้อกำหนดเพื่อให้องค์กรนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบมาตรฐานในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการปกป้องความเป็นส่วนตัว เป็นระบบบริหารที่มีความยืดหยุ่น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรที่มีความหลากหลาย โดยใช้หลักการ PDCA (Plan - Do - Check - Act) เป็นรูปแบบการดำเนินการเช่นเดียวกับมาตรฐาน ISO อื่น ๆ เช่น ISO9001, ISO14001, ISO22301, ISO45001, ISO5001 เป็นต้น ข้อกำหนดในมาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO27001:2022 มีทั้งหมด 10 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. บทนำ (Clause 1-3) และ 2. ข้อกำหนด (Clause 4-10) ดังภาพ ทั้งนี้หากองค์กรต้องการขอการรับรองมาตรฐาน จากหน่วยงานที่ให้การรับรอง (Certify body) จะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดที่ 4-10 โดยไม่สามารถยกเว้นได้ 


ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC27001:2022 (10 ข้อ)
  1. Scope -- ขอบข่ายของมาตรฐาน
  2. Normative reference -- การอ้างอิง 
  3. Terms and definitions -- คำศัพท์ และความหมาย
    ^^^ 1-3 ไม่ต้องสนใจมาก ^^^
  4. Context of Organization -- บริบทองค์กร
  5. Leadership -- ผู้นำ
  6. Plan -- การวางแผน
  7. Support -- การสนับสนุน
  8. Operation -- การดำเนินการ
  9. Performance evaluation -- การประเมินผล
  10. Improvement -- การพัฒนาปรับปรุง

นอกจากนี้ในมาตรฐาน ISO/IEC27001 ยังมีการกำหนดมาตรการควบคุมไว้ใน Annex A ของมาตรฐาน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 93 ข้อ เพื่อให้องค์กรเลือกนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย Security control ที่กำหนดขึ้นมาใหม่จำนวน 11 ข้อ


Clause 4 – Context of the organization (บริบทองค์กร)

 

มาตรฐาน ISO27001:2022 มีข้อกำหนดทั้งหมด 10 ข้อ สำหรับบล็อกนี้จะเป็นเรื่องของข้อกำหนดที่ 4 ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริบทขององค์กร โดยจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อย่อย 4.1-4.4 

4.1 การทำความเข้าใจองค์กร และบริบทขององค์กร ในข้อนี้ได้กำหนดให้องค์กรต้องศึกษาประเด็นภายใน และประเด็นภายนอกที่เกี่ยวข้อง/ส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ หรือส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินการ/การบรรลุผลลัพธ์ของระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ 

การดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดข้อนี้ที่นิยมกันก็จะใช้เครื่องมือ SWOT Analysis และ PESTEL แต่ในมาตรฐานไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นวิธีไหน องค์กรอาจจะเลือกวิธีอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามบริบทขององค์กรก็ได้

4.2 กำหนดให้องค์กรต้องทำความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดนี้องค์กรต้องกำหนดว่าใครเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และศึกษาความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่กำหนดไว้ 

สิ่งที่ลืมไม่ได้สำหรับการวิเคราะห์ในข้อนี้คือ การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์, พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, พรบ.คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ระเบียบข้อบังคับ ตลอดจนสัญญา และข้อผู้พันธ์ตามสัญญากับผู้ให้หรือผู้รับบริการที่เกี่ยวข้องกับองค์กร


4.3 เมื่อทำการศึกษาเพื่อเข้าใจองค์กร, บริบทขององค์กร และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียแล้ว ก็นำข้อมูลที่ได้มากำหนดขอบเขตของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ 

ข้อกำหนดที่ 4.3 เป็นข้อกำหนดเดียวในข้อกำหนดที่ 4 ที่กำหนดให้จัดทำเป็นเอกสารสารสนเทศ ข้อกำหนดอื่นไม่ได้กำหนดให้จัดทำ ดังนั้นองค์กรไม่จำเป็นต้องทำเป็นเอกสารก็ได้ แต่ในการตรวจประเมินองค์กรต้องสามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีการวิเคราะห์/ประเมินตามข้อ 4.1-4.2

4.4 กำหนดให้องค์กรจัดตั้ง ดำเนินการ รักษา และพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Establish, implement, maintain, and continually improve) ระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รวมถึงกระบวนการจำเป็นที่เกี่ยวข้อง

>>> 
ISO/IEC 27001:2022 มาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการปกป้องความเป็นส่วนตัว