Showing posts with label Business Continuity. Show all posts
Showing posts with label Business Continuity. Show all posts

Wednesday, February 21, 2024

BCM ไม่เท่ากับ BCP !!!


BCM ไม่เท่ากับ BCP ... สองคำนี้มักมีคนใช้แทนกันโดยที่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง

มาดูนิยามของคำทั้งสองคำนี้กัน อ้างอิงตาม มอก.22301

การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity management: BCM) หมายถึง กระบวนการบริหารแบบองค์รวมซึ่งบ่งชี้ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อกำดำเนินธุรกิจ และให้แนวทางในการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหลัก ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล

แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity plan: BCP) หมายถึง เอกสารขั้นตอนการดำเนินการ และข้อมูลสำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการใด้ในระดับที่กำหนดภายหลังการเกิดอุบัติการณ์ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก

BCM เป็นการจัดการเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการหลาย ๆ ขั้นตอนไม่ว่าจะเป็น การประเมินความเสี่ยงต่อการหยุดชะงักขององค์กร, การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis: BIA), การวิเคราะห์ความเสี่ยงของการหยุดชะงักของระบบงานสำคัญ, การกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบงานสำคัญ, การจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity plan: BCP), การฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ

จะเห็นได้ว่า BCP เป็นส่วนหนึ่งของ BCM ไม่ใช่ทั้งหมด 

---

Tuesday, November 14, 2023

การตัดสินใจเข้าสู่ขั้นตอนการสื่อสารภาวะวิกฤต

ปัญหาหนึ่งที่มักจะเจอในการจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ คือการกำหนดจุดตัดสินใจในการเข้าสู่ภาวะวิกฤต แต่เจอการตัดสินใจเข้าสู่ขั้นตอนการสื่อสารภาวะวิกฤต ในคู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร แล้วชอบเป็นพิเศษเลยเอามาปรับนิดหน่อย (นิดเดียวจริงๆ) คิดว่ามีหลายหน่วยงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้




---

คู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร (2023). Retrieved 18 September 2023, from https://pr-bangkok.com/insite/03-PRFLIP/mobile/index.html#p=1

Tuesday, July 4, 2023

BCP Exercise - การฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ

การฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นขั้นตอนในการทดสอบและประเมินความพร้อมของแผนปฏิบัติการ และกระบวนการในการตอบโต้สถานการณ์เมื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดคิด เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องของแผน, ทรัพยากร, กระบวนการทำงาน, ช่องว่างในการประสานงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ตลอดจนประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสาร   โดยมีรูปแบบที่นิยมใช้ในการฝึกซ้อม 3 รูปแบบ คือ
  • การฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table top Exercise)
  • การฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise)
  • การฝึกซ้อมเสมือนจริง (Full scale Exercise)
การฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table top Exercise) เป็นการฝึกซ้อมที่มุ่งเน้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผน บทบาทหน้าที่ และความร่วมมือต่าง ๆ  โดยใช้การอภิปรายแบบกลุ่มบนสถานะการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น โดยผู้บริหาร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อดีของการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะคือประหยัด เหมาะสำหรับใช้ในการเตรียมการฝึกซ้อมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

การฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise) เป็นการฝึกซ้อมที่มุ่งเน้นการประเมินความสามารถของบุคลากร การสั่งการ และทรัพยากรที่จำเป็น โดยการจำลองสถานะการเฉพาะจุด หรือเฉพาะบทบาทหน้าที่นั้น ๆ ข้อดีของการฝึกซ้อมการฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ คือความสมจริงของเหตุการณ์ภายไต้งบประมาณที่จำกัด มักถูกใช้ในการเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การทดสอบการสื่อสารผ่าน Call tree, การทดสอบ hot site เป็นต้น

การฝึกซ้อมเสมือนจริง (Full scale Exercise) เป็นการฝึกซ้อมที่ซับซ้อนและใช้ทรัพยากรมากที่สุดเนื่องจากต้องมีการเคลื่อนย้ายทรัพยากร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความสมจริงในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งรวมทั้งกระบวนการสั่งการ การสื่อสาร การเคลื่อนย้าย การตั้งค่า การรายงาน ฯลฯ โดยใช้สถานการณ์สมมติ

การที่องค์กรจะเลือกรูปแบบการซ้อมแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับบริบท และความพร้อมขององค์กรในการดำเนินการ แต่อย่างน้อยควรจะมีการซ้อมปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นแผนนี้จะสามารถรับมือได้