Showing posts with label 27001. Show all posts
Showing posts with label 27001. Show all posts

Wednesday, December 18, 2024

หยุดเข้าใจผิด! #ISO27001 ไม่ใช่เรื่องของไอทีเท่านั้น !!!

แทบทุกหน่วยงานที่มีโอกาสเข้าไปแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือ ISO27001 จะเข้าใจว่า "มันเป็นเรื่องของ IT"

ไม่ใช่แบบนั้นดิ!


ISO27001 ไม่ได้โฟกัสแค่เรื่องไอที แต่มันเกี่ยวกับ “ข้อมูล” ในทุกๆ รูปแบบ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้ที่ไหนหรือในลักษณะใด เช่น:

  • ข้อมูลในระบบไอที: พวกไฟล์ดิจิทัล, ฐานข้อมูล, หรือแอปพลิเคชัน
  • ข้อมูลบนกระดาษ: เอกสาร, สัญญา หรือแบบฟอร์มต่างๆ
  • ข้อมูลในตู้เอกสาร: เช่น แฟ้มที่ถูกล็อกไว้อย่างดีในตู้
  • ข้อมูลในอุปกรณ์: เช่น ซอฟต์แวร์ที่อยู่ในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เฉพาะ ปัจจุบันเริ่มเยอะขึ้นเรื่อย ๆ 
  • ข้อมูลที่อยู่ในบุคคล: ความรู้เฉพาะที่บางคนในองค์กรเท่านั้นที่รู้

แล้วทำไมไอทีถึงถูกพูดถึงเยอะใน ISO27001?


ก็เพราะในยุคนี้ ข้อมูลส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บ, ส่งต่อ, ประมวลผล, ทำให้แสดงผล ในระบบไอที เช่น เซิร์ฟเวอร์, คลาวด์ หรือระบบต่างๆ การปกป้องข้อมูลในระบบเหล่านี้จากภัยคุกคาม เช่น การแฮ็ก การสูญหายของข้อมูล หรือไวรัส ในระบบไอทีจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

 

แต่...ISO27001 ไม่ได้หยุดอยู่แค่ไอที!


ISO27001 ให้ความสำคัญกับ “ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security)” โดยมองในมุมกว้างครอบคลุมข้อมูลทุกประเภท และเน้น 3 หลักการสำคัญที่ช่วยปกป้องข้อมูล:

  1. Confidentiality (ความลับ): ป้องกันไม่ให้ข้อมูลตกไปอยู่ในมือคนที่ไม่ควรเข้าถึง
  2. Integrity (ความถูกต้อง): ทำให้มั่นใจว่าข้อมูลจะไม่ถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต
  3. Availability (ความพร้อมใช้งาน): ทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งานเมื่อจำเป็น

ตัวอย่างง่ายๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัย
  • เอกสารสำคัญในตู้เอกสารที่ถูกล็อกไว้ นั่นคือการปกป้อง Confidentiality
  • ข้อมูลในระบบไอทีที่มีการตรวจสอบสิทธิ์ก่อนแก้ไขไฟล์ นั่นคือการรักษา Integrity
  • ซอฟต์แวร์ในเครื่องจักรที่ต้องมีระบบสำรองข้อมูล หากเกิดปัญหา นั่นคือการรับรอง Availability

สรุปง่ายๆ ISO27001 ไม่ใช่แค่เรื่องของไอที แต่มันคือเรื่องของ "ข้อมูล" และการปกป้องข้อมูลนั้นให้มั่นคงปลอดภัย ไม่ว่าจะอยู่ในคอมพิวเตอร์, กระดาษ, ตู้เอกสาร หรือแม้แต่ในหัวของพนักงาน ถ้าคิดว่า ISO27001 คือเรื่องของไอทีอย่างเดียว นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของมันคือการปกป้องข้อมูลในทุกมิติอย่างรอบด้าน

Friday, May 31, 2024

จะขอรับรองมาตรฐาน ISO/IEC27001 ต้องทำอะไรบ้าง?

มีสอบถามเข้ามาหลายท่านว่าถ้าต้องการจะเริ่มจัดทำระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศฯ ตามมาตรฐาน ISO/IEC27001 จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อขอรับการรับรอง วันนี้เลยเอาแผนที่เคยจัดทำไว้มาแชร์ว่ามีอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละองค์กรที่จะนำไปปรับใช้นะคับ

Wednesday, April 5, 2023

เตรียมพร้อมเอกสารสำหรับ Surveillance Audit ISO27001

เวลาจะตรวจ Surveillance Audit ISO27001 ประจำปีแต่ละที ก็จะกังวลว่าเตรียมเอกสารครบหรือยัง? ลองเช็คไปพร้อมๆ  กัน

ตรวจสอบ

  1. มีการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตการบริหารจัดการ? -- Scope of ISMS (Clause 4.3) 
  2. มีการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย? -- Information Security Policy (Clause 5.2) 
  3. มีการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการประเมินความเสี่ยง และกระบวนการการจัดการความเสี่ยง? -- Information Security Risk Assessment Process (Clause 6.1.2), Information Security Risk Treatment Plan (Clause 6.1.3
  4. มีการเปลี่ยนแปลงของเอกสารการประยุกต์ใช้มาตรการควบคุม? -- Statement of Applicability (Clause 6.1.3)
  5. มีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ? -- Information Security Objectives (Clause 6.2)
  6. มีการเปลี่ยนเปลงระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ? -- Change Management (Clause 6.3)
  7. มีการเปลี่ยนแปลงของเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง? -- Documented Information Required by the Standard and Deemed Necessary by the Organization (Clause 7.5.1) 
*** ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง 1-7 มีการจัดทำ/ทบทวน/แก้ไขเอกสารหรือยัง? ถ้าแก้ไขแล้วจัดเตรียมไว้

เตรียม

  1. ใบประกาศ, แผนการอบรม ผลการอบรม ของพนักงานที่เกี่ยวข้อง -- Evidence of Competences (Clause 7.2)
  2. ผลการประเมินความเสี่ยง -- Results of Information Security Risk Assessments (Clause 8.2)
  3. แผนการจัดการความเสี่ยง และการติดตามผลการจัดการ -- Results of Risk Treatment (Clause 8.3)
  4. ผลการติดตามและวัดผลประสิทธิผลการดำเนินการ (KPI) -- Evidence of Monitoring and Measurement Results (Clause 9.1) 
  5. แผนการตรวจ, ผลการตรวจ, รายงานการตรวจ, CAR, การตอบกลับ CAR, การติดตาม CAR -- Audit Program and Results (Clause 9.2) - Schedule and outcomes of ISMS audits.
  6. ผลลัพธ์ของกระบวนการที่ได้วางแผนไว้ -- Evidence that the Process Has Been Performed as Planned (Clause 8.1)
  7. ผลการทบทวนของผู้บริหาร -- Evidence of Management Reviews (Clause 9.3) 
  8. ผลการดำเนินการกับความไม่สอดคล้อง -- Nonconformities and Actions Taken (Clause 10.2)
หมายเหตุ: เป็นการตรวจสอบเฉพาะตามข้อกำหนด C4-10 ไม่รวมถึงเอกสารที่เกิดจากการประยุกต์ใช้มาตรการควบคุมตาม Annex A

Monday, November 14, 2022

ISO/IEC 27001:2022 มาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการปกป้องความเป็นส่วนตัว

ISO/IEC 27001:2013 เป็นมาตรฐานสากล ด้านระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการปกป้องความเป็นส่วนตัว ขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization - ISO) ประกาศใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี ค2005 ปัจจุบันเป็นฉบับปี 2022 มีข้อกำหนดเพื่อให้องค์กรนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบมาตรฐานในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการปกป้องความเป็นส่วนตัว เป็นระบบบริหารที่มีความยืดหยุ่น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรที่มีความหลากหลาย โดยใช้หลักการ PDCA (Plan - Do - Check - Act) เป็นรูปแบบการดำเนินการเช่นเดียวกับมาตรฐาน ISO อื่น ๆ เช่น ISO9001, ISO14001, ISO22301, ISO45001, ISO5001 เป็นต้น ข้อกำหนดในมาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO27001:2022 มีทั้งหมด 10 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. บทนำ (Clause 1-3) และ 2. ข้อกำหนด (Clause 4-10) ดังภาพ ทั้งนี้หากองค์กรต้องการขอการรับรองมาตรฐาน จากหน่วยงานที่ให้การรับรอง (Certify body) จะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดที่ 4-10 โดยไม่สามารถยกเว้นได้ 


ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC27001:2022 (10 ข้อ)
  1. Scope -- ขอบข่ายของมาตรฐาน
  2. Normative reference -- การอ้างอิง 
  3. Terms and definitions -- คำศัพท์ และความหมาย
    ^^^ 1-3 ไม่ต้องสนใจมาก ^^^
  4. Context of Organization -- บริบทองค์กร
  5. Leadership -- ผู้นำ
  6. Plan -- การวางแผน
  7. Support -- การสนับสนุน
  8. Operation -- การดำเนินการ
  9. Performance evaluation -- การประเมินผล
  10. Improvement -- การพัฒนาปรับปรุง

นอกจากนี้ในมาตรฐาน ISO/IEC27001 ยังมีการกำหนดมาตรการควบคุมไว้ใน Annex A ของมาตรฐาน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 93 ข้อ เพื่อให้องค์กรเลือกนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย Security control ที่กำหนดขึ้นมาใหม่จำนวน 11 ข้อ