Showing posts with label BCP. Show all posts
Showing posts with label BCP. Show all posts

Wednesday, February 21, 2024

BCM ไม่เท่ากับ BCP !!!


BCM ไม่เท่ากับ BCP ... สองคำนี้มักมีคนใช้แทนกันโดยที่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง

มาดูนิยามของคำทั้งสองคำนี้กัน อ้างอิงตาม มอก.22301

การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity management: BCM) หมายถึง กระบวนการบริหารแบบองค์รวมซึ่งบ่งชี้ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อกำดำเนินธุรกิจ และให้แนวทางในการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหลัก ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล

แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity plan: BCP) หมายถึง เอกสารขั้นตอนการดำเนินการ และข้อมูลสำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการใด้ในระดับที่กำหนดภายหลังการเกิดอุบัติการณ์ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก

BCM เป็นการจัดการเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการหลาย ๆ ขั้นตอนไม่ว่าจะเป็น การประเมินความเสี่ยงต่อการหยุดชะงักขององค์กร, การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis: BIA), การวิเคราะห์ความเสี่ยงของการหยุดชะงักของระบบงานสำคัญ, การกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบงานสำคัญ, การจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity plan: BCP), การฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ

จะเห็นได้ว่า BCP เป็นส่วนหนึ่งของ BCM ไม่ใช่ทั้งหมด 

---

Tuesday, November 14, 2023

การตัดสินใจเข้าสู่ขั้นตอนการสื่อสารภาวะวิกฤต

ปัญหาหนึ่งที่มักจะเจอในการจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ คือการกำหนดจุดตัดสินใจในการเข้าสู่ภาวะวิกฤต แต่เจอการตัดสินใจเข้าสู่ขั้นตอนการสื่อสารภาวะวิกฤต ในคู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร แล้วชอบเป็นพิเศษเลยเอามาปรับนิดหน่อย (นิดเดียวจริงๆ) คิดว่ามีหลายหน่วยงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้




---

คู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร (2023). Retrieved 18 September 2023, from https://pr-bangkok.com/insite/03-PRFLIP/mobile/index.html#p=1

Tuesday, July 4, 2023

BCP Exercise - การฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ

การฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นขั้นตอนในการทดสอบและประเมินความพร้อมของแผนปฏิบัติการ และกระบวนการในการตอบโต้สถานการณ์เมื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดคิด เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องของแผน, ทรัพยากร, กระบวนการทำงาน, ช่องว่างในการประสานงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ตลอดจนประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสาร   โดยมีรูปแบบที่นิยมใช้ในการฝึกซ้อม 3 รูปแบบ คือ
  • การฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table top Exercise)
  • การฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise)
  • การฝึกซ้อมเสมือนจริง (Full scale Exercise)
การฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table top Exercise) เป็นการฝึกซ้อมที่มุ่งเน้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผน บทบาทหน้าที่ และความร่วมมือต่าง ๆ  โดยใช้การอภิปรายแบบกลุ่มบนสถานะการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น โดยผู้บริหาร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อดีของการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะคือประหยัด เหมาะสำหรับใช้ในการเตรียมการฝึกซ้อมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

การฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise) เป็นการฝึกซ้อมที่มุ่งเน้นการประเมินความสามารถของบุคลากร การสั่งการ และทรัพยากรที่จำเป็น โดยการจำลองสถานะการเฉพาะจุด หรือเฉพาะบทบาทหน้าที่นั้น ๆ ข้อดีของการฝึกซ้อมการฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ คือความสมจริงของเหตุการณ์ภายไต้งบประมาณที่จำกัด มักถูกใช้ในการเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การทดสอบการสื่อสารผ่าน Call tree, การทดสอบ hot site เป็นต้น

การฝึกซ้อมเสมือนจริง (Full scale Exercise) เป็นการฝึกซ้อมที่ซับซ้อนและใช้ทรัพยากรมากที่สุดเนื่องจากต้องมีการเคลื่อนย้ายทรัพยากร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความสมจริงในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งรวมทั้งกระบวนการสั่งการ การสื่อสาร การเคลื่อนย้าย การตั้งค่า การรายงาน ฯลฯ โดยใช้สถานการณ์สมมติ

การที่องค์กรจะเลือกรูปแบบการซ้อมแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับบริบท และความพร้อมขององค์กรในการดำเนินการ แต่อย่างน้อยควรจะมีการซ้อมปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นแผนนี้จะสามารถรับมือได้