Tuesday, January 16, 2024

Micromanagement - บอสเจ้าระเบียบ?

https://copilot.microsoft.com/...

Micromanagement เป็น สไตล์การจัดการที่ผู้จัดการควบคุมดูแลงานของพนักงานอย่างใกล้ชิด แทรกแซงทุกขั้นตอน กำหนดวิธีการทำงานที่ละเอียด ตรวจสอบผลงานอย่างเข้มงวด โดยทั่วไปมักไม่ไว้ใจให้พนักงานตัดสินใจเอง

ข้อดีของ Micromanagement:

  • งานเสร็จตามความคาดหวัง: การควบคุมอย่างใกล้ชิด ช่วยให้มั่นใจว่างานจะเสร็จตามกำหนดเวลา ตรงตามมาตรฐาน และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
  • เหมาะกับงานที่มีความละเอียดอ่อน: งานบางประเภท มีความเสี่ยงสูง หรือต้องการความแม่นยำสูง การควบคุมอย่างใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งจำเป็น
  • เหมาะกับพนักงานใหม่: พนักงานใหม่ อาจยังไม่มีประสบการณ์ หรือความรู้เพียงพอ การควบคุมอย่างใกล้ชิด ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้วิธีการทำงานได้อย่างถูกต้อง

ข้อเสียของ Micromanagement:

  • ทำลายขวัญกำลังใจ: พนักงานอาจรู้สึกถูกควบคุม ไม่ไว้วางใจ สูญเสียอิสระ และความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน และอาจลาออกจากองค์กร
  • ทำลายความคิดสร้างสรรค์: การควบคุมอย่างใกล้ชิด จำกัดความสามารถของพนักงานในการคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหา และเรียนรู้ ส่งผลให้พนักงานไม่มีอิสระในการคิดริเริ่ม คิดนอกกรอบ หรือลองผิดลองถูก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงานในอนาคต
  • สร้างคอขวดในการตัดสินใจ: การรวมอำนาจตัดสินใจไว้ที่ผู้จัดการเพียงคนเดียว ทำให้กระบวนการทำงานช้าลง เกิดคอขวด และขาดความคล่องตัว
  • เพิ่มอัตราการลาออก: พนักงานที่มีความสามารถอาจลาออกเพื่อหางานที่ให้ความอิสระมากกว่าโดยการลาออกของพนักงาน ส่งผลให้เกิดต้นทุนในการสรรหา ฝึกอบรม และ onboarding พนักงานใหม่
  • ทำลายวัฒนธรรมองค์กร: Micromanagement ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กร สร้างบรรยากาศแห่งความไม่ไว้วางใจ พนักงานไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่กล้าตัดสินใจ และยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมแห่งการไม่ไว้วางใจ การไม่พึ่งพา และความกลัว ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและผู้จัดการ

Micromanagement อาจมีข้อดีในบางสถานการณ์ แต่โดยรวมแล้ว มีข้อเสียมากกว่าข้อดี ผู้จัดการควรใช้วิธีการอื่น เช่น การมอบอำนาจให้พนักงาน การสร้างวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการสนับสนุนให้พนักงานเรียนรู้ พัฒนา และตัดสินใจเอง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กรในระยะยาว

---

ข้อมูลอ้างอิง

Monday, January 8, 2024

เบอร์โทรศัพท์เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?

https://copilot.microsoft.com/images/...

ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่า ข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร?

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มาตรา 6 ได้ให้นิยามของ ข้อมูลส่วนบุคคลไว้ว่า


“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

 

ดังนั้น เมื่อจะพิจารณาว่าเบอร์โทรศัพท์เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่? ต้องพิจารณาว่า เบอร์โทรศัพท์ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลได้หรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม .... 


คำตอบคือ ... เป็นไปได้ทั้งสองแบบ


เพราะ?

  • ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ที่เมื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่น ๆ เช่น Prompt pay, True wallet, บัญชีธนาคาร หรืออื่น ๆ แล้วทำให้สามารถระบุตัวบุคคลได้ ก็หมายความว่ามันเป็น "ข้อมูลส่วนบุคคล"
  • แต่ในกรณีที่เบอร์โทรนั้นไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าเป็นใคร มันก็ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เบอร์โทรบริษัทฯ แต่ก็อาจมีกรณีที่เบอร์โทรสำนักงาน หรือเบอร์โทรศัพท์ของบริษัท เป็นเบอร์ประจำห้องส่วนตัว เบอร์นี้ก็จะกลายเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทันที เพราะสามารถระบุตัวบุคคลได้

ดังนั้นโดยสรุป เบอร์โทรศัพท์จะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ต้องดูบริบทของเบอร์โทรศัพท์นั้น ๆ ด้วย

---

Wednesday, January 3, 2024

The 7 Key Foundations for Modern D&A Governance


 ---

ละเว้นไม่เปิดเผยว่าเป็นโรคความดันสูง สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2566

การที่ ย. รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ตนเคยได้รับการตรวจสุขภาพ และแพทย์ให้ข้อสังเกตว่าตนเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อนแล้ว แต่ไม่เปิดเผยข้อความจริงนั้น ซึ่งหาก ย. เปิดเผยย่อมจูงใจให้จำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาไม่ว่า ย. จะได้รับการรักษาต่อไปตามคำแนะนำของแพทย์หรือไม่ จะเข้าพบแพทย์ด้วยสิทธิประโยชน์ทางใด หรือจะได้รับการจ่ายยาเพื่อรักษาโรคหรือไม่ รวมทั้งแท้จริงแล้ว ย. จะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องข้อมูลที่จำเลยได้รับขณะทำสัญญาประกันภัยไม่ถูกต้องและเป็นข้อสำคัญที่จำเลยจะปฏิเสธไม่รับประกันภัย หรือหากจะรับประกันภัยก็ต้องสืบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปว่าควรเสี่ยงรับประกัน ย. หรือไม่ ทั้งข้อวินิจฉัยของแพทย์ก็เป็นการตั้งข้อสังเกตโดยแพทย์แล้วว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ไม่ว่า ย. จะถึงแก่ความตายด้วยสาเหตุใด การที่ ย. ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความดังกล่าว สัญญาประกันชีวิตตามฟ้องย่อมตกเป็นโมฆียะ เมื่อจำเลยบอกล้างภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จำเลยจึงไม่จำต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

--

ที่มา

Monday, January 1, 2024

SUCCESS - เส้นทางสู่ความสำเร็จ?

ee your goal.
nderstand the obstacles.
reate a positive mental picture.
ear your mind of self doubt.
mbrace the challenge.
tay on track.

and then 

how the world you can do it!

Tuesday, December 12, 2023

PDPA Self Check - ทำครบหรือยัง?


PDPA Self Check
  1. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุัมครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer | DPO)
  2. จัดทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activity | RoPA)
  3. การแจ้งคำประกาศการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice)
  4. จัดให้มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Security Measure)
  5. จัดให้มีกระบวนการในการขอใช้สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  6. จัดให้มีกระบวนการในการตอบสนองต่ออุบัติการณ์และการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach Response)
  7. การจัดทำข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล (Data Sharing Agreement | DSA) หรือข้อตกลงในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement | DPA) --- ถ้ามี
  8. การจัดทำหลักเกณฑ์/ข้อตกลง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรณีที่ส่งหรือโอนข้อมูลไปต่างประเทศ (Cross Border Transfer)
---
ประกาศที่เกี่ยวข้อง:

Wednesday, November 15, 2023

ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร (Leadership & Commitment)

มาตรฐานได ๆ ไม่อาจสำเร็จ หรือบรรลุวัตถุประสงค์ได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ถ้าแค่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญอาจจะยังไม่เป็นปัญหาเท่าใหร่ แต่หากผู้บริหารไม่รู้ว่าการดำเนินการเหล่านี้มีไว้ทำไม หรือมีประโยชน์อะไร อันนี้ตัวใครตัวมันแล้ว !!!

ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร (Management commitment) เป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดในมาตรฐานระบบการจัดการ ในที่นี้จะยกมาในส่วนของระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศฯ ตามมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของผู้บริหารไว้ดังนี้


ซึ่งประเด็นสำคัญของมันก็คือ ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาและนำระบบการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศฯ ไปปฏิบัติใช้ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบอย่างต่อเนื่อง

คำถามที่ตามมาคือ ในฐานะผู้บริหารจะแสดงความมุ่งมั่นอย่างไร ในฐานะผู้ตรวจปัญหาสำคัญคือจะทำอย่างไรในการเก้บรวบรวมหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการของผู้บริหาร

ผู้บริหารเซ็นต์ลงนามในประกาศนโยบาย และระเบียบปฎิบัติ เพียงพอใหมที่จะบอกว่าผู้บริหารมีความมุ่งมั่น? เอาตามตรงมันอาจจะยังไม่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถมององค์ประกอบอื่นๆ  เพิ่มเติมได้ ถึงแม้บางอย่างในข้อกำหนดจะให้เก็บเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ยากหน่อยก็เหอะ

แล้วเราจะดูอะไรได้ หรือผู้บริหารจะทำยังไงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นหละ สิ่งเหล่านี้อาจจะพอเป็นแนวทางได้นะครับ เช่น ผู้บริหารเข้าร่วมประชุมทบทวนระบบ กำกับดูแล และติดตามผลการดำเนินการ ให้ข้อเสนอแนะ และตัดสินใจในประเด้นที่เกี่ยวข้อง (เช่น แผนการจัดการความเสี่ยง, ประสิทธิผลการดำเนินการ เป็นต้น), ผู้บริหารจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้, ผู้บริหารสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น

Tuesday, November 14, 2023

การตัดสินใจเข้าสู่ขั้นตอนการสื่อสารภาวะวิกฤต

ปัญหาหนึ่งที่มักจะเจอในการจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ คือการกำหนดจุดตัดสินใจในการเข้าสู่ภาวะวิกฤต แต่เจอการตัดสินใจเข้าสู่ขั้นตอนการสื่อสารภาวะวิกฤต ในคู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร แล้วชอบเป็นพิเศษเลยเอามาปรับนิดหน่อย (นิดเดียวจริงๆ) คิดว่ามีหลายหน่วยงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้




---

คู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร (2023). Retrieved 18 September 2023, from https://pr-bangkok.com/insite/03-PRFLIP/mobile/index.html#p=1