Tuesday, March 5, 2024
ISO add Climate Change Consideration in Management System Standard - ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถูกเพิ่มในมาตรฐานระบบการจัดการโดยองค์กรมาตรฐานนานาชาติ
Wednesday, February 21, 2024
BCM ไม่เท่ากับ BCP !!!
BCM ไม่เท่ากับ BCP ... สองคำนี้มักมีคนใช้แทนกันโดยที่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง
มาดูนิยามของคำทั้งสองคำนี้กัน อ้างอิงตาม มอก.22301
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity management: BCM) หมายถึง กระบวนการบริหารแบบองค์รวมซึ่งบ่งชี้ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อกำดำเนินธุรกิจ และให้แนวทางในการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหลัก ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล
แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity plan: BCP) หมายถึง เอกสารขั้นตอนการดำเนินการ และข้อมูลสำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการใด้ในระดับที่กำหนดภายหลังการเกิดอุบัติการณ์ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก
Wednesday, February 14, 2024
ทะเบียนกฎหมาย vs การดำเนินการตามกฎหมาย
การมีทะเบียนกฎหมาย ไม่เท่ากับว่าองค์กรได้ดำเนินการตามกฎหมาย สองอย่างนี้ต่างกัน การมีทะเบียนกฎหมายเพื่อให้ทราบว่ามีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องกับองค์กรบ้าง ครอบคลุมหรือไม่ ส่วนการดำเนินการตามกฎหมายองค์กรจะต้องเช็คในแต่ละข้อกำหนดของกฎหมาย กฎระเบียบนั้นๆ และการจัดการขององค์กรในปัจจุบันว่าสอดคล้องตามข้อกำหนดหรือไม่ ถ้าไม่สอดคล้องจะมีแผนในการดำเนินการอย่างไร?
ดังนั้นสิ่งที่องค์กรควรต้องทำไม่ใช่แค่อย่างได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องทำทั้งสองอย่าง คือ
- จัดทำทะเบียนกฏหมาย
- ประเมินความสอดคล้องในการดำเนินการตามกฏหมาย
Monday, February 5, 2024
POOR Management?
ระบบการจัดการที่ดี ไม่ว่ายูสเซอร์จะเป็นใคร จากใหน อะไร ยังไง ... ผลลัพธ์ที่ได้ถึงจะไม่เหมือนกันเป๊ะ แต่ก็ออกมาอยู่ในรูปแบบที่คาดหวังได้ว่ามันจะเหมือนกัน
แต่เมื่อใหร่ที่ระบบการจัดการแย่ ... ผลของงานนั้นก็ขึ้นอยู่กับยูสเซอร์แต่ละคน
แล้วควระเริ่มปรับที่ใคร ยูสเซอร์ หรือระบบ ???
Tuesday, January 16, 2024
Micromanagement - บอสเจ้าระเบียบ?
https://copilot.microsoft.com/... |
Micromanagement เป็น สไตล์การจัดการที่ผู้จัดการควบคุมดูแลงานของพนักงานอย่างใกล้ชิด แทรกแซงทุกขั้นตอน กำหนดวิธีการทำงานที่ละเอียด ตรวจสอบผลงานอย่างเข้มงวด โดยทั่วไปมักไม่ไว้ใจให้พนักงานตัดสินใจเอง
ข้อดีของ Micromanagement:
- งานเสร็จตามความคาดหวัง: การควบคุมอย่างใกล้ชิด ช่วยให้มั่นใจว่างานจะเสร็จตามกำหนดเวลา ตรงตามมาตรฐาน และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
- เหมาะกับงานที่มีความละเอียดอ่อน: งานบางประเภท มีความเสี่ยงสูง หรือต้องการความแม่นยำสูง การควบคุมอย่างใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งจำเป็น
- เหมาะกับพนักงานใหม่: พนักงานใหม่ อาจยังไม่มีประสบการณ์ หรือความรู้เพียงพอ การควบคุมอย่างใกล้ชิด ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้วิธีการทำงานได้อย่างถูกต้อง
ข้อเสียของ Micromanagement:
- ทำลายขวัญกำลังใจ: พนักงานอาจรู้สึกถูกควบคุม ไม่ไว้วางใจ สูญเสียอิสระ และความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน และอาจลาออกจากองค์กร
- ทำลายความคิดสร้างสรรค์: การควบคุมอย่างใกล้ชิด จำกัดความสามารถของพนักงานในการคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหา และเรียนรู้ ส่งผลให้พนักงานไม่มีอิสระในการคิดริเริ่ม คิดนอกกรอบ หรือลองผิดลองถูก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงานในอนาคต
- สร้างคอขวดในการตัดสินใจ: การรวมอำนาจตัดสินใจไว้ที่ผู้จัดการเพียงคนเดียว ทำให้กระบวนการทำงานช้าลง เกิดคอขวด และขาดความคล่องตัว
- เพิ่มอัตราการลาออก: พนักงานที่มีความสามารถอาจลาออกเพื่อหางานที่ให้ความอิสระมากกว่าโดยการลาออกของพนักงาน ส่งผลให้เกิดต้นทุนในการสรรหา ฝึกอบรม และ onboarding พนักงานใหม่
- ทำลายวัฒนธรรมองค์กร: Micromanagement ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กร สร้างบรรยากาศแห่งความไม่ไว้วางใจ พนักงานไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่กล้าตัดสินใจ และยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมแห่งการไม่ไว้วางใจ การไม่พึ่งพา และความกลัว ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและผู้จัดการ
Micromanagement อาจมีข้อดีในบางสถานการณ์ แต่โดยรวมแล้ว มีข้อเสียมากกว่าข้อดี ผู้จัดการควรใช้วิธีการอื่น เช่น การมอบอำนาจให้พนักงาน การสร้างวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการสนับสนุนให้พนักงานเรียนรู้ พัฒนา และตัดสินใจเอง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กรในระยะยาว
---
ข้อมูลอ้างอิง
- บทความ: 5 เหตุผล Micromanagement ทำองค์กรพัง: https://www.brightsidepeople.com/5-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C%E0%B8%A5-micromanagement...
Monday, January 8, 2024
เบอร์โทรศัพท์เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?
https://copilot.microsoft.com/images/... |
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มาตรา 6 ได้ให้นิยามของ ข้อมูลส่วนบุคคลไว้ว่า
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
ดังนั้น เมื่อจะพิจารณาว่าเบอร์โทรศัพท์เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่? ต้องพิจารณาว่า เบอร์โทรศัพท์ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลได้หรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ....
คำตอบคือ ... เป็นไปได้ทั้งสองแบบ
เพราะ?
- ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ที่เมื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่น ๆ เช่น Prompt pay, True wallet, บัญชีธนาคาร หรืออื่น ๆ แล้วทำให้สามารถระบุตัวบุคคลได้ ก็หมายความว่ามันเป็น "ข้อมูลส่วนบุคคล"
- แต่ในกรณีที่เบอร์โทรนั้นไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าเป็นใคร มันก็ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เบอร์โทรบริษัทฯ แต่ก็อาจมีกรณีที่เบอร์โทรสำนักงาน หรือเบอร์โทรศัพท์ของบริษัท เป็นเบอร์ประจำห้องส่วนตัว เบอร์นี้ก็จะกลายเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทันที เพราะสามารถระบุตัวบุคคลได้
ดังนั้นโดยสรุป เบอร์โทรศัพท์จะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ต้องดูบริบทของเบอร์โทรศัพท์นั้น ๆ ด้วย
---
Wednesday, January 3, 2024
ละเว้นไม่เปิดเผยว่าเป็นโรคความดันสูง สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
Monday, January 1, 2024
SUCCESS - เส้นทางสู่ความสำเร็จ?
Tuesday, December 12, 2023
PDPA Self Check - ทำครบหรือยัง?
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุัมครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer | DPO)
- จัดทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activity | RoPA)
- การแจ้งคำประกาศการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice)
- จัดให้มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Security Measure)
- จัดให้มีกระบวนการในการขอใช้สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- จัดให้มีกระบวนการในการตอบสนองต่ออุบัติการณ์และการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach Response)
- การจัดทำข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล (Data Sharing Agreement | DSA) หรือข้อตกลงในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement | DPA) --- ถ้ามี
- การจัดทำหลักเกณฑ์/ข้อตกลง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรณีที่ส่งหรือโอนข้อมูลไปต่างประเทศ (Cross Border Transfer)
- พระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ
- ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 41 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566
- ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2566
- ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565
- ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง การยกเว้นการบันทึกรายการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นกิจการขนาดเล็ก พ.ศ. 2565
- ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565
- ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565