1. การประเมินผู้ให้บริการภายนอก
การประเมินผู้ให้บริการภายนอกมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรสามารถเลือกผู้ให้บริการที่มีความเหมาะสมทั้งด้านความรู้ ความเชี่ยวชาญ และการดำเนินงานตามมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย เช่น ISO 27001, PCI-DSS, หรือ SOC2 การประเมินนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการที่ไม่มีคุณภาพ อาทิ การรั่วไหลของข้อมูลหรือการละเมิดข้อกำหนดขององค์กร
สิ่งที่ควรดำเนินการ:
- จัดทำแบบประเมินผู้ให้บริการภายนอก
- ประเมินความเสี่ยง และการให้บริการ
- จัดทำรายงานผลการประเมินเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
- ความเสี่ยงด้านกฏหมาย
- ความเสี่ยงจากการกำกับดูแล แบะบริหารจัดการบุคคลภายนอกที่ไม่รัดกุมเพียงพอ
- ความเสี่ยงจากการกระจุกตัว (Concentration risk)
- ความเสี่ยงด้านการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data breach)
- ความเสี่ยงจากการพึ่งพาบุคคลภายนอกรายใดรายหนึ่งเป็นหลัก (Third-party/vendor locked-in)
- ความเสี่ยงด้าน IT ที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยง/ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ (Cyber-attack) ที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงกรณีบุคคลภายนอกให้ผู้อื่นดำเนินการแทน (Sub-contracting)
- ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์
- ขีดความสามารถในการให้บริการ
- ความน่าเชื่อถือทางาการเงิน
- ชื่อเสียงทางธุรกิจ การถูกร้องเรียน หรือการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
- มาตรฐานการดำเนินการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
- ฯลฯ
การจัดทำสัญญาเป็นขั้นตอนสำคัญที่กำหนดข้อตกลงระหว่างองค์กรและผู้ให้บริการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับขอบเขตการให้บริการ บทบาท และความรับผิดชอบ รวมถึงมาตรฐานขั้นต่ำ เช่น มาตรฐาน ISO 27001 หรือข้อกำหนดด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement) การจัดทำสัญญาที่ละเอียดและชัดเจนช่วยลดข้อขัดแย้งในอนาคต และเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์กร
สิ่งที่ควรกำหนดในสัญญา:
- ขอบเขตุการให้บริการ การเชื่อมต่อ และการเข้าถึงข้อมูล/ระบบสารสนเทศ
- บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ
- มาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติงาน/การจัดการ เช่น มาตรฐาน ISO27001, PCI-DSS เป็นต้น
- ข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Agreement Level: SLA)
- ข้อตกลงการแบ่งปัน (data processing agreement)/การแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล (data sharing agreement)/
- ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
- การติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงาน
- รายชื่อ และช่องทางการติดต่อสื่อสารเมื่อเกิดปัญหา
- ข้อกำหนดในการรักษาความลับและการปฏิบัติตามมาตรฐานขององค์กร
- สิทธิในการเข้าตรวจสอบ (Right to Audit) และติดตามการดำเนินงานของผู้ให้บริการ
- เงื่อนไขการยุติสัญญาในกรณีที่ผู้ให้บริการละเมิดข้อตกลง
3. การจัดทำทะเบียนผู้ให้บริการภายนอก
การจัดทำทะเบียนผู้ให้บริการภายนอกเป็นการรวบรวมข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อบริษัท ที่อยู่ และข้อมูลการติดต่อ การจัดทำทะเบียนช่วยให้องค์กรสามารถติดตามและบริหารจัดการผู้ให้บริการได้อย่างเป็นระบบ และยังช่วยสนับสนุนการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง การมีข้อมูลที่อัปเดตเสมอจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างรวดเร็ว
สิ่งที่ควรดำเนินการ:
- จัดทำทะเบียนผู้ให้บริการภายนอก ***
- กำหนดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการอัปเดตทะเบียน
- ตรวจสอบและอัปเดตข้อมูลทะเบียนเป็นประจำ
- เก็บข้อมูลทะเบียนในระบบที่ปลอดภัยและเข้าถึงได้ง่าย
- ชื่อผู้ให้บริการภายนอก
- รายละเอียดการใช้บริการ/การเชื่อมต่อ/การเข้าถึงข้อมูล
- รายละเอียดการติดต่อผู้ติดต่อหลัก (ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทร)
- รายละเอียดการติดต่อผู้ติดต่อสำรอง (ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทร)
- วันที่เริ่มต้นสัญญา
- วันที่สิ้นสุดสัญญา
- ระดับความเสี่ยง
- วันที่ปรับปรุง (update)
4. การบริหารจัดการผู้ให้บริการภายนอก
การบริหารจัดการผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น การประเมินและทบทวนผู้ให้บริการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ จะช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบความเหมาะสมและการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการได้ตลอดเวลา การดำเนินการนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในสัญญาหรือระบบ และช่วยกำหนดมาตรการควบคุมที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
สิ่งที่ควรดำเนินการ:
- จัดทำแผนการประเมินและทบทวนผู้ให้บริการประจำปี
- ตรวจสอบความสอดคล้องของผู้ให้บริการกับมาตรฐานและนโยบายขององค์กร
- บันทึกผลการประเมินและดำเนินการปรับปรุงข้อมูลในทะเบียนผู้ให้บริการ
- วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และกำหนดมาตรการควบคุม
- จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอผู้บริหาร
5. การสิ้นสุดสัญญา/บริการ
การสิ้นสุดสัญญา/บริการเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้องค์กรสามารถปิดความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นระเบียบ โดยรวมถึงการยกเลิกสิทธิ์การเข้าถึงระบบและทรัพย์สิน การลบข้อมูลสำคัญ และการตรวจสอบการลบข้อมูลส่วนบุคคล (PII) อย่างปลอดภัย ขั้นตอนเหล่านี้ช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยหลังสิ้นสุดความสัมพันธ์ และยังเน้นย้ำถึงความรับผิดชอบของผู้ให้บริการในการรักษาความลับของข้อมูล
สิ่งที่ควรดำเนินการ:
- ยกเลิกสิทธิ์การเข้าถึงระบบของผู้ให้บริการทั้งหมด
- ตรวจสอบและเก็บคืนอุปกรณ์ที่เป็นทรัพย์สินขององค์กร
- ลบซอฟต์แวร์และข้อมูลของผู้ให้บริการออกจากระบบองค์กร
- ตรวจสอบการลบข้อมูลส่วนบุคคล (PII) อย่างปลอดภัย
- ย้ำถึงข้อกำหนดการรักษาความลับตามข้อตกลง (NDA)
- บันทึกผลการดำเนินการสิ้นสุดบริการเพื่อเป็นหลักฐาน
การบริหารจัดการผู้ให้บริการภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพเป็นส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยและเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการดำเนินงาน การมีกระบวนการที่ชัดเจนตั้งแต่การคัดเลือก การทำสัญญา การติดตาม ไปจนถึงการสิ้นสุดการให้บริการ จะช่วยสร้างความมั่นใจในความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ อีกทั้งยังช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามมาตรฐานสากลในระยะยาว
No comments:
Post a Comment