Thursday, April 1, 2021

Siriraj Learning Cycle

---

  • เอกสารประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย ศ.พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร 

Tuesday, February 9, 2021

ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์

มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448

มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง

มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว

มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร

มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์

มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร

มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้

     ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว

     ถ้าการประกอบธุรกิจหรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง  ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต  ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้

      ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้

     การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล  ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต

Thursday, July 4, 2019

5ส

5'ส ประกอบด้วย

  1. สะสาง : มั่นใจว่ามีแต่ของที่จำเป็นเท่านั้น 
  2. สะดวก : มีที่สำหรับของทุกสิ่ง และอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ 
  3. สะอาด : การทำความสะอาด 
  4. สุขลักษณะ : กำหนดมาตรฐาน และปรับปรุงให้ดีขึ้น 
  5. สร้างนิสัย : การมีทัศนคติที่ดี เพื่อการทำงานเป็นทีม

ประโยชน์ของ 5 ส ต่องานบริการ 
  1. หน่วยงานสะอาด สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย 
  2. ผู้รับบริการได้รับความสะดวก รวดเร็วขึ้น 
  3. สร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน 
  4. มีความปลอดภัยในการทำงาน 
  5. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยการบำรุงรักษาอุปกรณ์ 
  6. ป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่หน่วยงานอื่น 
  7. เกิดความภาคภูมิใจต่อตนเองและหน่วยงาน

Monday, May 13, 2019

ผังก้างปลา (Cause & Effect Diagram)

ผังก้างปลา (Fishbone Diagram) บ้างก็เรียกว่าผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) เป็นแผนผังที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะ ทางคุณภาพกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


-- 

; ภาพเซฟไว้นานหาที่มาไม่เจอแล้ว, กราบประทานอภัยครับ

PDSA: SIMPLE

 
-- 

; เซฟไว้นานหาที่มาไม่เจอแล้ว, กราบประทานอภัยครับ

Wednesday, January 9, 2019

ความเสี่ยงในโรงพยาบาล (ความหมายและประเภทของความเสี่ยง)

" ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่จะประสบกับสิ่งไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจแจกแจงได้ต่อไปนี้ (หลายคำอาจมีความหมายคล้ายกันหรือใช้ทดแทนกันได้"

  1. การบาดเจ็บ/เสียหาย (harm) หมายถึง การถูกทำร้าย, การทำร้ายจิตใจ, ความเจ็บป่วย, การสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะ, การสูญเสียทรัพย์สิน, การถูกกลั่นแกล้ง, การถูกรบกวน, หรือการมีบาดแผล.

  2. เหตุร้าย (hazard) หมายถึง การเกิดอันตราย, ภาวะยากลำบาก, และความไม่มั่นคง.

  3. อันตราย (danger) หมายถึง ความรู้สึกถูกคุกคาม หรือความอ่อนแอ.

  4. ความไม่แน่นอน (uncertainty) หมายถึง สิ่งที่ไม่ชัดเจน, น่าสงสัย, คาดการณ์ไม่ได้, ทำนายไม่ได้, หรือไม่แน่ใจ.

  5. การเปิดเผย (exposure) หมายถึง ความหวาดกลัวที่จะถูกนำเสนอ, ถูกเปิดเผย, เผยความลับ, รวมทั้งการตีความผิดพลาด.

ประเภทของความเสี่ยง ได้แก่:

  1. ความเสี่ยงด้านทางกายภาพ (physical risk) เกี่ยวข้องกับร่างกายของผู้ป่วย เช่น การลื่นหกล้ม, การตกเตียง, การติดเชื้อ, การตัดอวัยวะผิดส่วน, การผ่าตัดที่ไม่จำเป็น, การทำร้ายร่างกาย.

  2. ความเสี่ยงด้านอารมณ์ (emotional risk) เกี่ยวกับการทำร้ายจิตใจ, การทำให้อับอาย, การทำให้เสียหน้า, การทำให้เกิดความสับสน, รวมทั้งการคุกคามด้วยสิ่งที่มองไม่เห็นหรือพยากรณ์ไม่ได้, หรือการขาดความเป็นส่วนตัว.

  3. ความเสี่ยงด้านสังคม (social risk) เกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วย, การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น การเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยต่อผู้อื่น, การรักษาความลับของผู้ป่วย, และการจัดการสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ป่วย เช่น การไม่สามารถชำระค่ารักษา หรือการสูญเสียรายได้จากการนอนโรงพยาบาล.

  4. ความเสี่ยงทางจิตวิญญาณ (spiritual risk) เกี่ยวกับความเชื่อ, ความรู้สึกไม่มั่นคง, ความสูญเสีย, และความไม่ชัดเจน. "

 ---

  • อนุวัฒน์ ศุภโชจิกุล. (2552). ระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (หน้า 2).