Thursday, June 13, 2024
Hospital Information Security Management (Challenging, Why & How?)
; Co-writing With AI
In the era of digital transformation, the healthcare industry has embraced technology to enhance patient care, streamline operations, and improve overall efficiency. However, this technological advancement has also introduced new challenges, particularly in the realm of information security. As healthcare organizations handle vast amounts of sensitive patient data, ensuring the confidentiality, integrity, and availability of this information is of paramount importance. A data breach in a healthcare setting can have severe consequences, including compromised patient privacy, financial losses, reputational damage, and even potential harm to individuals' well-being.
Insider Threats and Human Factor (Motivations & Mitigation)
Insider threats, both intentional and unintentional, pose a significant risk to organizations, and addressing them requires a comprehensive approach that combines technical controls, employee awareness and training, and robust access management policies.
Malicious Insider Threats
Malicious insiders are individuals who intentionally exploit their authorized access to sensitive data and systems for personal gain, revenge, or ideological beliefs. These threats can cause substantial damage to an organization due to the insiders' intimate knowledge of the company's operations, systems, and sensitive information.
Motivations for Malicious Insider Threats
The motivations behind malicious insider threats can vary, but some common drivers include:
- Financial Gain: Insiders may seek to profit by stealing and selling sensitive data, engaging in corporate espionage, or committing fraud [5][8][11].
- Revenge or Retaliation: Disgruntled employees who feel wronged or mistreated by their current or former employer may seek revenge by exposing sensitive data, sabotaging systems, or disrupting operations [2][5][11].
Wednesday, June 12, 2024
Employee Experience vs. Employee Engagement by Hacking HR
- Employee Experience vs. Employee Engagement: The HR Shift You Need to Make. (N.d.). Retrieved from https://hackinghrlab.io/blogs/employee-experience-vs-engagement/
Tuesday, June 11, 2024
Friday, May 31, 2024
จะขอรับรองมาตรฐาน ISO/IEC27001 ต้องทำอะไรบ้าง?
มีสอบถามเข้ามาหลายท่านว่าถ้าต้องการจะเริ่มจัดทำระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศฯ ตามมาตรฐาน ISO/IEC27001 จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อขอรับการรับรอง วันนี้เลยเอาแผนที่เคยจัดทำไว้มาแชร์ว่ามีอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละองค์กรที่จะนำไปปรับใช้นะคับ
Thursday, May 30, 2024
ตัวอย่างความเสี่ยงเกี่ยวกับรหัสผ่าน และมาตรการควบคุม
Risk | Control |
Weak Passwords | 1. Password Strength Meter 2. Password minimum length = 12 3. Password complexity = 4 (Uppercase (A-Z), Lowercase (a-z), Numbers (0-9), Special characters (#, %, etc.) |
Password Reuse | 1. Minimum password duration = 0 2. Maximum password duration = 0 3. Password history = 4 |
Brute Force Attacks | 1. Captcha Implementation 2. Logon attempt before lockout = 6 3. Lockout duration = 30 min 4. Reset logon attempts = 30 min 5. Account Login/out or Lockout Notification |
Credential theft | 1. Least Privilege Principle/Just-In-Time Privileges 2. Multi-Factor Authentication (MFA) 3. Regular Password Changes 4. Database Activity Monitoring 5. Encrypted Storage 6. Behavioral Analytics 7. Security Awareness Training |
Keylogging | 1. Only business devices are allowed to access the internal network. 2. Anti-Virus/Malware 3. Patch Management 4. Endpoint Detection and Response (EDR) 5. Secure Input Methods 6. VA/Pentest 7. Do not allow user to install program/application on device 8. Device Hardening |
Insider Threat | 1. Segregation of duty/Role-Based Access Control (RBAC) 2. User review 3. Change Management 4. Log review 5. User Behavior Analytics (UBA) 6. Whistleblower Policy |
Data breach | 1. Data Encryption 2. On-premises 3. Data Loss Prevention (DLP) 4. Role-Based Access Control (RBAC) 5. User review 6. Monitoring/ Regular Audits |
Unplan downtime | 1. Implement High Availability (HA) solutions 2. Redundancy 3. Incident response (SLA = ?h) 4. Backup/Restore 5. Regular Testing |
Saturday, May 25, 2024
Thursday, May 23, 2024
การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาเมื่อเกิดกรณีพิพาท ระหว่างโรงพยาบาล และผู้มารับบริการ
การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เป็นหนึ่งในกระบวนการหลักในการกำกับดูแลองค์กร นอกเหนือจากระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance) และระบบควบคุมภายใน (Internal Control) ที่มีประสิทธิผล ในการจัดการความเสี่ยงสรุปเป็น 8 ขั้นตอนดังนี้
1. ระบุความเสี่ยง (Risk Identification):
ซึ่งอาจได้มาจาก
การทบทวนการดำเนินงาน กระบวนการ และทรัพย์สินของบริษัท
การสัมภาษณ์พนักงาน ผู้จัดการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
พิจารณาปัจจัยภายนอก เช่น แนวโน้มของตลาด การพัฒนาอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ
รายงานการตรวจสอบภายใน/ภายนอก และรายงานการตรวจสอบอื่น ๆ เช่น VA/Pentese
จำนวนอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้น
อื่น ๆ
2. จัดหมวดหมู่ความเสี่ยง:
นำความเสี่ยงที่ได้จากข้อที่ 1 มาจัดหมวดหมู เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ และทำให้เห็นมุมมองความเสี่ยงในภาพกว้างขององค์กร โดยอาจเเบ่งออกเป็น
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) เช่น การแข่งขันทางการค้า, การเปลี่ยนแปลงของตลาด
ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน (Operational Risk) เช่น ความล้มเหลวของกระบวนการ, ข้อผิดพลาดของมนุษย์
ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) เช่น ความผันผวนของตลาด, ความเสี่ยงด้านเครดิต, กระแสเงินสด, ลูกหนี้ค้างชำระ, หนี้ NPL
ความเสี่ยงในการปฏิบัติตามหฎหมาย/กฎระเบียบ (Compliance Risk) เช่น การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ความเสี่ยงต่อชื่อเสียง (Reputation Risk) เช่น ความเสียหายต่อแบรนด์ การรับรู้ของสาธารณชน)
3. ประเมินโอกาสและผลกระทบต่อความเสี่ยง (Risk Analysis):
ประเมินโอกาส (ความน่าจะเป็น) และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ความรุนแรง) ของแต่ละความเสี่ยง โดยพิจารณาจาก
ข้อมูลในอดีต เกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
มาตรการควบคุมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
และกำหนดค่าระดับความเสี่ยงโดยอาศัยข้อมูลจากระดับโอกาสและผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปจะคำนวนจาก
ค่าระดับความเสี่ยง = ค่าโอกาส X ค่าผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ตัวอย่างการกำหนดระดับความเสี่ยงโดยวิเคราะห์จากค่าความเสี่ยง (1-5)
หมายเหตุ: ความเสี่ยงหลาย ๆ ความเสี่ยงมีความเชื่อมโยงระหว่างกันอาจส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน โดยผลกระทบนั้นอาจมีลักษนะที่เชื่อมโยงแบบโดมิโน
4. จัดลำดับความสำคัญความเสี่ยง (Risk Evaluation):
นำความเสี่ยงที่วิเคราะห์ได้มาจัดลำดับความสำคัญ โดยพิจารณาเน้นที่ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดสูง และความเสี่ยงที่มีผลกระทบสูง องค์กรควรพิจารณาในการจัดทำเกณฑ์ หรือระดับการยอมรับความเสี่ยง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความเสี่ยงระดับต่ำ (Low) เป็นความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ ความเสี่ยงระดับสูงถึงสูงมาก (high-Extreme) เป็นความเสี่ยงที่โดยปกติแล้วไม่ควรยอมรับ นั่นหมายความว่าองค์กรควรต้องหาแนวทางในการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงลง ในขณะเดียวกันความเสี่ยงระดับปานกลาง (Medium) เป็นความเสี่ยงที่องค์กรควรพิจารณาถึงความเพียงพอของมาตรการควบคุมที่มีปัจจุบัน ต้นทุนในการลดความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อพิจารณาดำแนวทางในการดำเนินการต่อไป
โดยทั่วไปแล้วแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่นิยมกันจะมีอยู่ 4 แบบ คือ
ยอมรับความเสี่ยง (Accept)
การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Avoid)
การกระจาย/โอนความเสี่ยง (Transfer)
การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Mitigate)
5. จัดทำแผนหรือกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง:
เมื่อได้ความเสี่ยงในแต่ละระดับแล้ว และพิจารณาแล้วว่าความเสี่ยงนั้น ๆ จะดำเนินการอย่างไร ก็จัดทำแผนหรือกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง โดยเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) แผนการจัดการความเสี่ยงนั้นควรถูกนำเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็น และอนุมัติการดำเนินการ
6. ติดตามและทบทวนความเสี่ยง:
ปัญหาสำคัญที่การจัดการความเสี่ยงไม่มีประสิทธิผลคือไม่ระบบติดตามและทบทวนความเสี่ยง ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงการประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงาน สภาวะตลาด หรือปัจจัยอื่น ๆ และติดตามประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลการลดความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
7. รายงานและสื่อสารความเสี่ยง:
ผู้บริหารมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการชี้นำ และตัดสินใจ ดังนั้นนำเสนอการประเมินความเสี่ยงและกลยุทธ์การบรรเทาผลกระทบต่อฝ่ายบริหาร คณะกรรมการ และผู้มีส่วนได้เสีย อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงสำคัญจะช่วยให้การจัดการความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ
8. การพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง:
ไม่มีหลักเกณฑ์/แนวทางไหนใช้ได้ดีไปได้ตลอด ความเสี่ยงระดับต่ำวันนี้อาจเป็นความเสี่ยงระดับสูงในวันพรุ่งนี้ การจัดการความเสี่ยงที่ดีในวันนี้ วันพรุ่งนี้อาจจะใช้ไม่ได้แล้ว การพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวให้ทันต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ทำให้องค์กรเกิดการพัฒนา