Wednesday, November 15, 2023

ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร (Leadership & Commitment)

มาตรฐานได ๆ ไม่อาจสำเร็จ หรือบรรลุวัตถุประสงค์ได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ถ้าแค่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญอาจจะยังไม่เป็นปัญหาเท่าใหร่ แต่หากผู้บริหารไม่รู้ว่าการดำเนินการเหล่านี้มีไว้ทำไม หรือมีประโยชน์อะไร อันนี้ตัวใครตัวมันแล้ว !!!

ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร (Management commitment) เป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดในมาตรฐานระบบการจัดการ ในที่นี้จะยกมาในส่วนของระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศฯ ตามมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของผู้บริหารไว้ดังนี้


ซึ่งประเด็นสำคัญของมันก็คือ ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาและนำระบบการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศฯ ไปปฏิบัติใช้ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบอย่างต่อเนื่อง

คำถามที่ตามมาคือ ในฐานะผู้บริหารจะแสดงความมุ่งมั่นอย่างไร ในฐานะผู้ตรวจปัญหาสำคัญคือจะทำอย่างไรในการเก้บรวบรวมหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการของผู้บริหาร

ผู้บริหารเซ็นต์ลงนามในประกาศนโยบาย และระเบียบปฎิบัติ เพียงพอใหมที่จะบอกว่าผู้บริหารมีความมุ่งมั่น? เอาตามตรงมันอาจจะยังไม่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถมององค์ประกอบอื่นๆ  เพิ่มเติมได้ ถึงแม้บางอย่างในข้อกำหนดจะให้เก็บเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ยากหน่อยก็เหอะ

แล้วเราจะดูอะไรได้ หรือผู้บริหารจะทำยังไงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นหละ สิ่งเหล่านี้อาจจะพอเป็นแนวทางได้นะครับ เช่น ผู้บริหารเข้าร่วมประชุมทบทวนระบบ กำกับดูแล และติดตามผลการดำเนินการ ให้ข้อเสนอแนะ และตัดสินใจในประเด้นที่เกี่ยวข้อง (เช่น แผนการจัดการความเสี่ยง, ประสิทธิผลการดำเนินการ เป็นต้น), ผู้บริหารจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้, ผู้บริหารสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น

Tuesday, November 14, 2023

การตัดสินใจเข้าสู่ขั้นตอนการสื่อสารภาวะวิกฤต

ปัญหาหนึ่งที่มักจะเจอในการจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ คือการกำหนดจุดตัดสินใจในการเข้าสู่ภาวะวิกฤต แต่เจอการตัดสินใจเข้าสู่ขั้นตอนการสื่อสารภาวะวิกฤต ในคู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร แล้วชอบเป็นพิเศษเลยเอามาปรับนิดหน่อย (นิดเดียวจริงๆ) คิดว่ามีหลายหน่วยงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้




---

คู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร (2023). Retrieved 18 September 2023, from https://pr-bangkok.com/insite/03-PRFLIP/mobile/index.html#p=1

Friday, October 13, 2023

ทำไมองค์กรถึงต้องมีระบบการจัดการที่ดี ???

ขอเริ่มต้นด้วยประโยคนี้ 

"ระบบที่ดี ไม่ว่ายูสเซอร์จะเป็นใคร จากใหน อะไร ยังไง ผลลัพธ์ที่ได้ก็เหมือนกัน ถึงจะไม่เหมือนเป๊ะแต่ก็อยู่ในระดับที่คาดหวังได้ แต่เมื่อใหร่ที่ระบบแย่ ... ผลของงานนั้นก็ขึ้นอยู่กับพนักงานแต่ละคน แล้วควรแก้ที่ใคร คน หรือระบบ ???"

ระบบการจัดการที่ดีไม่เพียงแค่ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันในตลาดอีกด้วย การมีระบบการจัดการที่ดีส่งผลต่อองค์กรใหนหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

1. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน

ระบบการจัดการที่ดีช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เมื่อระบบได้รับการออกแบบและจัดการอย่างเหมาะสม พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล ลดข้อผิดพลาด และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ส่งผลให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

Wednesday, September 20, 2023

Risk Management - การจัดการความเสี่ยง ?

 


มีโอกาสได้เข้ามาดูงานการจัดการความเสี่ยงที่ศิริราช 2 อาทิตย์ ได้ดูสไลด์การจัดการความเสี่ยงของ รศ.พญ.ปรียานุช แย้มวงษ์ แล้วชอบนิยามของการจัดการความเสี่ยงของอาจารย์เป็นพิเศษ เราอาจหานิยามที่มีความเป็นวิชาการได้ แต่ของอาจารย์คือให้ความหมายที่ทำให้มองเห็นภาพ เวลาต้องอธิบาย เลยขอยืมอาจารย์ไปใช้อยู่บ่อย ๆ 



 "การจัดการความเสี่ยง เป็นศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสมดุล

เพื่อให้การใช้ชีวิต และการดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามทางสายกลาง

ที่เป็นไปอย่างไม่ประมาท แต่ก็ไม่ทุกขเกินเหตุ”



“ ชีวิตคนเรามีความเสี่ยงตลอดเวลา 

ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ จนถึงเสี่ยงต่อชีวิต


ถ้าเรากลัวไปหมดซะทุกอย่าง

ก็จะไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ เลย 

แต่ถ้าไม่สนใจอะไรเลย ก็ประมาท ”





รศ.พญ.ปรียานุช แย้มวงษ์ 

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Tuesday, September 12, 2023

ผู้บริหารจะมีส่วนอย่างไรในการดำเนินการให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย

  1. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน: กำหนดหลักการสำคัญที่เป็นแนวทางให้กับองค์กร โดยอาจเขียนเป็นนโยบาย กลยุทธ์ และเผยแพร่ให้พนักงานทราบ
  2. สื่อสารอย่างสม่ำเสมอ: พูดถึงหลักนำนี้อย่างสม่ำเสมอ เน้นย้ำให้พนักงานจดจำ เพื่อให้พนักงานทราบว่าผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
  3. เป็นแบบอย่าง: ผู้นำต้องแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดี ปฏิบัติตามแนวทาง หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
  4. ยกย่องผู้ปฏิบัติตาม: ประกาศยกย่องและให้รางวัลแก่พนักงานที่ปฏิบัติตามแนวทาง หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
  5. ไม่สนับสนุนผู้ละเมิด: ไม่ให้รางวัลหรือยกย่องผู้ที่ฝ่าฝืน แม้จะสร้างผลประโยชน์ระยะสั้นให้กับองค์กรก็ตาม และตักเตือนหรือลงโทษพนักงานที่ละเมิดอย่างจริงจัง

Wednesday, September 6, 2023

Strategic The Series (Part 1) -- แผนยุทธศาสตร์คืออะไร?

วันนี้ฟังสัมนาการจัดทำยุทธศาสตร์คณะฯ เลยเอามาเขียนสรุปตามความเข้าใจของตัวเองสักหน่อย และแบ่งปันกันอ่านครับ ที่เขียนนี่คือเอาตามความเข้าใจของตัวเองที่ได้ฟังนะครับ อาจจะไม่ครบ หรือตกหล่น บางอันก็เขียนเพิ่มเองไม่ได้เกี่ยวกับที่ฟังมาต้องขออภัย

เริ่มต้นอาจารย์ได้เกริ่นก่อนว่าทุกองค์กรมีข้อจำกัดที่เหมือนกัน 3 ประการ คือ เวลา, คน และเงิน ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ เราจึงไม่สามารถทำทุกสิ่งที่เราต้องการได้ ดังนั้นการเพื่อผลลัพธ์ที่ดีภายใต้ข้อจำกัดเราจึงต้องเลือกทำสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แผนยุทธศาสตร์คืออะไร? ก่อนจะตอบคำถามนี้อาจจะต้องทำความเข้าใจไปทีละขั้น เราคงไม่ได้เอานิยามมาคุยกันนะครับ เพราะมีการกำหนดไว้ค่อนข้างหลากหลายเลยทีเดียว 

แผน คือ รายการขั้นตอนที่ต้องทำอะไรบางอย่าง โดยใช้ทรัพยากร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

แผนยุทธศาสตร์ คือ แผนที่กำหนดทิศทางหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร

องค์ประกอบหลักของแผนยุทธศาสตร์:

  1. วิสัยทัศน์ (Vision): สิ่งที่องค์กรต้องการเป็นในอนาคต เป็นจินตภาพเกี่ยวกับองค์กรในอนาคตที่ต้องการชี้ให้บุคลากร หรือผู้มีส่วนได้เสียเห็นถึงทิศทางที่องค์กรต้องการจะมุ่งไป วิสัยทัศน์จะอธิบายความท้าทายทะเยอทะยานสำหรับอนาคตขององค์กรแต่ไม่ได้ระบุถึงวิธีการที่จะนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้นอย่างชัดเจน 
  2. พันธกิจ (Mission): กรอบหรือขอบเขตการดำเนินงานขององค์กร เป็นกิจกรรมหลักและลักษณะงานสำคัญขององค์กรเพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์ที่องค์กรกำหนดขึ้น พันธกิจเป็นภารกิจพื้นฐานขององค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติหรือต้องการพัฒนา
  3. เป้าประสงค์ (Goals): ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการบรรลุ
  4. กลยุทธ์ (Strategies): วิธีการหรือแนวทางในการบรรลุเป้าประสงค์
  5. ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators - KPIs): เครื่องมือในการวัดความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์นั้น ๆ

แผนยุทธศาสตร์ที่ดี ควรต้องมี:

  • เป้าหมายที่ชัดเจน (Clear Goals)
  • มีการจัดลำดับความสำคัญ (Priority)
  • มีกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ลักษณะสำคัญของแผนยุทธศาสตร์
  • การมององค์การแบบภาพรวม (Holistic View): แผนยุทธศาสตร์จะต้องมององค์การในภาพรวมและเชื่อมโยงทุกส่วนขององค์การเข้าด้วยกัน.
  • การมุ่งเน้นอนาคต (Future-Oriented): แผนยุทธศาสตร์จะต้องมีการวางแผนระยะยาวและมุ่งเน้นไปที่การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต.
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์
  1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม:
    • ภายนอก: มองหาโอกาสและอุปสรรคจากปัจจัยต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การเมือง กฎหมาย และคู่แข่ง
    • ภายใน: ประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน ทรัพยากร และความสามารถขององค์กร

  2. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด โดยพิจารณาความได้เปรียบในการแข่งขัน กำหนดแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน วัดผลได้ และยืดหยุ่น

  3. นำกลยุทธ์ไปใช้ โดยการสื่อสารกลยุทธ์ให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจ จัดสรรทรัพยากรและบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการในการติดตามผลและประเมินผลการดำเนินงาน และที่สำคัญคือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมตามสถานการณ์
ในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ผู้บริหารเปรียบเสมือนกัปตัน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนองค์กรให้นำทางไปสู่เป้าหมาย 

ประโยชน์ของแผนยุทธศาสตร์
  • การกำหนดทิศทางที่ชัดเจน: ช่วยให้องค์การมีทิศทางที่ชัดเจนและสามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
  • การเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์กับการปฏิบัติการ: ช่วยให้องค์การสามารถเชื่อมโยงยุทธศาสตร์กับการปฏิบัติการได้อย่างเป็นรูปธรรม.
  • การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง: ช่วยให้องค์การสามารถปรับปรุงและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่องตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง.

>>> จะมีพาร์ทสองไหม?