ภัยคุกคาม (Threat) คือสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณสมบัติของข้อมูลในด้านต่างๆ ภัยคุกคามอาจมีลักษณะเป็นการโจมตี (Attack) หรือการบุกรุกเครือข่าย ซึ่งสามารถทำลายข้อมูล หรือทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) การหลอกลวงหรือการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ (Deception) และการควบคุมระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Usurpation) ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของภัยคุกคาม
Friday, May 10, 2024
Friday, April 19, 2024
Wednesday, April 10, 2024
Who is responsible for developing procedures??? --- หน้าที่ในการเขียนคู่มือการปฏิบัติงานคือใคร !!!
บางหน่วยงานคาดหวังให้ทีมคุณภาพเป็นผู้เขียน คุณภาพก็อาจจะบอกว่ามันใช่หน้าที่ของฉัน??? ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าคู่มือหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นเอกสารที่ถูกจัดทำเพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือวิธีการที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วคู่มือหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานจะถูกจัดทำ หรือเขียนโดยเจ้าของกระบวนการ (Process owner) เช่น คู่มือการผลิต ก็ควรเป็นของทีมผลิต คู่มือการจัดการความเสี่ยง ก็ควรเป็นของทีมความเสี่ยง คู่มือการตรวจสอบภายในก็ควรเป็นของทีมตรวจสอบภายใน เนื่องจากเจ้าของกระบวนการจะทราบรายละเอียดขั้นตอนการทำงานดีที่สุด
Monday, April 1, 2024
นิทานสั้น: "รหัสผ่านที่ปลอดภัย"
ในหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง มีเด็กชายชื่อ "น้อย" ที่ชอบเล่นเกมออนไลน์เป็นชีวิตจิตใจ น้อยมีเพื่อนสนิทชื่อ "จ้อย" ที่มักจะเล่นเกมด้วยกันเสมอ วันหนึ่ง น้อยได้พบกับเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเรียนรู้ถึงความสำคัญของการใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัย
Friday, March 15, 2024
ประกาศกระทวงมหาดไทยกำหนดสีถังขยะ
กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศ เรื่องการจัดการมูลฝอย ปี พ.ศ.2567 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 โดยอาศัยอำนาจตาม พรบ.รักษาความสะอาดแบะความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2560 กำหนดสีของถังขยะ ดังนี้
- สีน้ำเงิน สำหรับมูลฝอยทั่วไป
- สีเขียว สำหรับมูลฝอยอินทรีย์
- สีเหลือง สำหรับมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
- สีส้ม สำหรับมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตราย
- สีแดง สำหรับมูลฝอยติดเชื้อ
Thursday, March 14, 2024
ประเภทของเอกสารคุณภาพ
- นโยบาย (Policy), คู่มือคุณภาพ (Quality Manual: QM): เป็นแนวทาง หลักการ หรือแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ หรือดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน บริหารจัดการ และควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆ
- ระเบียบปฏิบัติ (Standard Procedure: SP / Quality Procedure: QP): เอกสารที่อธิบายลำดับขั้นตอน หรือวิธีการที่กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งองค์กรได้กำหนดไว้
กฎหมาย และประกาศที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
- พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
- พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
- ฯลฯ
- ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Risk) ของสถาบันการเงิน
- แนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Risk Implementation Guideline)
- แนวปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงจากบุคคลภายนอก (Third Party Risk Management Implementation Guideline)
- กรอบการประเมินความพร้อมด้าน Cyber Resilience
- แนวปฏิบัติการทดสอบเจาะระบบแบบ Intelligence-led (iPentest)
- แนวนโยบาย เรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Guiding Principles for Mobile Banking Security)
- ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2563
- แนวปฏิบัติ เรื่อง การกำกับดูแลและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2563
- แนวปฏิบัติเรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2563
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 38/2565
- กรอบการประเมินความพร้อมด้าน cyber resilience (CRAF)
- คู่มือแนวทางปฏิบัติการกำกับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีระดับองค์กรที่ดี (IT governance)
- คู่มือแนวทางปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT risk management)
- คู่มือแนวทางปฏิบัติการบริหารจัดการการใช้บริการ cloud computing
Tuesday, March 5, 2024
ISO add Climate Change Consideration in Management System Standard - ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถูกเพิ่มในมาตรฐานระบบการจัดการโดยองค์กรมาตรฐานนานาชาติ
Wednesday, February 21, 2024
BCM ไม่เท่ากับ BCP !!!
BCM ไม่เท่ากับ BCP ... สองคำนี้มักมีคนใช้แทนกันโดยที่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง
มาดูนิยามของคำทั้งสองคำนี้กัน อ้างอิงตาม มอก.22301
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity management: BCM) หมายถึง กระบวนการบริหารแบบองค์รวมซึ่งบ่งชี้ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อกำดำเนินธุรกิจ และให้แนวทางในการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหลัก ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล
แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity plan: BCP) หมายถึง เอกสารขั้นตอนการดำเนินการ และข้อมูลสำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการใด้ในระดับที่กำหนดภายหลังการเกิดอุบัติการณ์ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก
Wednesday, February 14, 2024
ทะเบียนกฎหมาย vs การดำเนินการตามกฎหมาย
การมีทะเบียนกฎหมาย ไม่เท่ากับว่าองค์กรได้ดำเนินการตามกฎหมาย สองอย่างนี้ต่างกัน การมีทะเบียนกฎหมายเพื่อให้ทราบว่ามีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องกับองค์กรบ้าง ครอบคลุมหรือไม่ ส่วนการดำเนินการตามกฎหมายองค์กรจะต้องเช็คในแต่ละข้อกำหนดของกฎหมาย กฎระเบียบนั้นๆ และการจัดการขององค์กรในปัจจุบันว่าสอดคล้องตามข้อกำหนดหรือไม่ ถ้าไม่สอดคล้องจะมีแผนในการดำเนินการอย่างไร?
ดังนั้นสิ่งที่องค์กรควรต้องทำไม่ใช่แค่อย่างได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องทำทั้งสองอย่าง คือ
- จัดทำทะเบียนกฏหมาย
- ประเมินความสอดคล้องในการดำเนินการตามกฏหมาย